บวบหอม/ Fragrant zucchini/ 櫛瓜

รหัสสินค้า : A026

ไม่พบสินค้า

ราคา

35.00 ฿

40.00 ฿

จำนวนที่จะซื้อ
ราคารวม

สินค้าไม่เพียงพอ

สินค้าหมด

สินค้าผ่านการตรวจสารพิษตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สดใหม่ทุกวัน คัดสรรคุณภาพอย่างดี เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกค้า

สรรพคุณของบวบหอม

1. เถาบวบหอมช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี (เถา)

2. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใยบวบ)

3. ใบ ผล ใยบวบ และเมล็ดเป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ (ใบ, ผล, ใยบวบ, เมล็ด) ส่วนดอกมีรสชุ่มและเย็นจัด ช่วยดับร้อนในร่างกาย (ดอก) ผลช่วยทำให้เลือดเย็น (ผล)

4. เมล็ดช่วยลดความร้อนในปอด ทำให้ปอดชุ่มชื่น (เมล็ด) ใยบวบมีรสหวาน คุณสมบัติไม่ร้อนไม่เย็น ช่วยทะลวงเส้นลมปราณ (ใยบวบ, เถา)

5. หากมีอาการเหงื่อออกมาก ให้ใช้ใบสดผสมกับเมนทอลแล้วนำมาตำใช้เป็นยาทาหรือใช้พอก (ใบ)

6. น้ำจากเถาใช้ผสมกับน้ำตาลทราย ใช้กินพอประมาณเป็นยาบรรเทาอาการร้อนใน (น้ำจากเถา) ราก ใบ เถา ผล และใยบวบ ช่วยแก้อาการร้อนใน (ราก, ใบ, เถา, ผล, ใยบวบ)

7. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ราก, ใบ, เถา, เมล็ด)

8. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ โดยใช้น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทราย ใช้กินพอประมาณ (น้ำจากเถา) หรือหากมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว ก็ให้ใช้รากนำมาต้มใส่ไข่เป็ด 2 ฟองแล้วนำมากิน (ราก)

9. น้ำคั้นจากใบสด นำมาหยอดตาเด็ก เพื่อใช้รักษาเยื่อตาอักเสบ (ใบ)

10. ช่วยรักษาโพรงจมูกอักเสบ ด้วยการใช้เถานำมาคั่วให้เหลืองแล้วบดให้เป็นผง ทำเป็นยานัตถุ์เป่าเข้าจมูก โดยให้ใช้ติดต่อกันประมาณ 2-4 วัน หรือจะใช้ดอกสดผสมกับฮั่วเถ่าเช่าสด นำไปตำพอกรักษาโพรงจมูกอักเสบ หรือถ้าใช้รักษาเยื่อจมูกอักเสบและ

    เสื่อมสมรรถภาพ จมูกอักเสบจนกลายเป็นโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง ก็ให้ใช้รากนำมาต้มกับน้ำกิน (เถา, ราก, ดอก) ราก ใบ และเถาช่วยรักษาจมูกอักเสบหรือเป็นแผล รักษาอาการอักเสบเรื้อรังในจมูก (ราก, ใบ, เถา)

11. เถามีรสขมและเย็นจัด มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยารักษาจมูกมีหนองและมีกลิ่นเหม็นที่อาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย ด้วยการใช้เถาบริเวณใกล้กับรากเผาให้เป็นถ่าน แล้วบดให้เป็นผง ใช้ผสมกับเหล้ากิน (เถา)

12. ใช้รักษาคางทูม ให้ใช้ผลนำไปเผาให้เป็นถ่าน บดให้เป็นผง ใช้ผสมกับน้ำเป็นยาทา หรือจะใช้ใยผล (รังบวบ) ที่เผาเป็นถ่านแล้วนำมาผสมกับน้ำใช้ทาบริเวณที่ปวด (ผล, ใยผล)

13. เมล็ดมีรสหวานมัน ใช้เป็นยารักษาอาการปวดเสียวฟัน โดยเลือกใช้ผลที่แก่นำไปเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้เป็นผง ใช้เป็นยาทาบริเวณที่ปวด ส่วนเถาก็เป็นยาแก้อาการปวดเสียวฟันเช่นกัน (เถา, เมล็ด)

14. ขั้วผลช่วยรักษาเด็กที่ออกหัด ช่วยทำให้ออกหัดได้เร็วขึ้น (ขั้วผล)

15. ผลอ่อนและใยบวบเป็นยาลดไข้ (ผล, ใยบวบ)

16. น้ำคั้นจากเถาใช้ผสมกับน้ำตาลทรายกินพอประมาณเป็นยาแก้หวัดได้ (น้ำจากเถา)

17. น้ำคั้นจากเถานำมาผสมกับน้ำตาลทรายกินพอประมาณเป็นยาแก้ไอ หรือจะใช้ดอกแห้งประมาณ 6-10 กรัมนำมาผสมกับน้ำผึ้งแล้วต้มจิบกิน หรือจะใช้เถานำไปต้มกับน้ำ หรือใช้น้ำคั้นจากเถาสดกินเป็นยาแก้ไอ (ซึ่งวิธีนี้ได้ทดลองกับหนูพบว่าสามารถช่วย

   ระงับอาการไอได้) ส่วนอีกวิธีให้ใช้เถาประมาณ 100-150 กรัม นำมาหั่นเป็นแว่นบาง ๆ ต้มกับน้ำ 1,000 ซีซี โดยต้มจนเหลือน้ำประมาณ 400 ซีซี เสร็จแล้วพักไว้ก่อน นำกากที่ต้มครั้งแรกมาต้มกับน้ำอีก 800 ซีซี แล้วต้มจนเหลือ 400 ซีซี แล้วนำน้ำที่ต้มทั้ง

   สองมารวมกัน เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ จนเหลือน้ำประมาณ 150 ซีซี ใช้แบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 50 ซีซี ติดต่อกันกัน 10 วัน (เถา, น้ำจากเถา, ดอก)[1],[2],[6]ส่วนราก ใบ และเถาก็เป็นยาแก้ไอเช่นกัน (ราก, ใบ, เถา)[2],[3] บ้างก็ว่าใช้น้ำคั้นจากเถาบวบ ให้ใช้

   ครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมกับน้ำอุ่นดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้เมล็ดที่อบแห้งแล้วนำมาบดเป็นผง ใช้ดื่มครั้งละ 9 กรัม วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ใยบวบนำมาคั่วให้เกรียมแต่อย่าให้ไหม้ แล้วนำมาบดเป็นผง ผสมกับน้ำตาล ใช้กินครั้งละ 2 ช้อน วันละ 3 ครั้ง (น้ำ

   คั้นจากเถา, ใยบวบ, เมล็ด)

18. ช่วยแก้อาการไอร้อยวัน ด้วยการใช้น้ำคั้นจากบวบสดผสมกับน้ำผึ้งเล็กน้อย ใช้กินครั้งละ 60 มิลลิลิตร วันละ 2-3 ครั้ง (ผล)

19. ดอกมีรสชุ่ม ขมเล็กน้อย และเย็นจัด ใช้แก้อาการเจ็บคอได้ โดยใช้ดอกแห้งประมาณ 6-10 กรัม นำมาผสมกับน้ำผึ้ง แล้วต้มจิบกินเป็นยา หรือจะใช้ผลอ่อนคั้นเอาแต่น้ำ ใช้กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 2-3 ครั้ง และผสมกับน้ำใช้กลั้วคอ หรือจะใช้ขั้วผลนำไป

   เผาไฟให้เป็นเถ้า บดให้เป็นผง ใช้เป่าคอรักษาอาการเจ็บคอ หรือจะใช้น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทรายใช้กินพอประมาณก็ได้ หรือจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือนำรากมาแช่กับน้ำในภาชนะกระเบื้องแล้วเทเอาแต่น้ำกินก็เป็นยาแก้อาการเจ็บคอเช่นกัน (น้ำ

   จากเถา, ราก, ดอก, ผล, ขั้วผล)

20. เถานำไปต้มกับน้ำหรือใช้น้ำคั้นจากเถาสดกินเป็นยาขับเสมหะ (เถา, น้ำคั้นจากเถา) ใบและเมล็ดช่วยขับเสมหะ ละลายเสมหะ (ใบ, เมล็ด)

21. เมล็ดใช้กินเป็นยาทำให้อาเจียน (เมล็ด)

22. ใช้ดอกแห้งประมาณ 6-10 กรัมผสมกับน้ำผึ้ง แล้วต้มจิบกินเป็นยาแก้หอบ (ดอก)

23. เถาใช้เป็นยารักษาหลอดลมอักเสบเรื้อรัง อาการอักเสบเรื้อรังในคนแก่ ด้วยการใช้เถาแห้งประมาณ 100-250 กรัม นำมาหั่นเป็นฝอย แล้วนำไปแช่กับน้ำจนพองตัว แล้วนำไปต้มและแยกกากออก ใส่น้ำตาลพอประมาณ ใช้กินเป็นยาวันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกัน

   ประมาณ 10 วัน ส่วนอีกวิธีให้ใช้เถาประมาณ 100-150 กรัม นำมาหั่นเป็นแว่นบาง ๆ ต้มกับน้ำ 1,000 ซีซี โดยต้มจนเหลือน้ำประมาณ 400 ซีซี เสร็จแล้วพักไว้ก่อน นำกากที่ต้มครั้งแรกมาต้มกับน้ำอีก 800 ซีซี แล้วต้มจนเหลือ 400 ซีซี แล้วนำน้ำที่ต้มทั้ง

   สองมารวมกัน เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ จนเหลือน้ำประมาณ 150 ซีซี ใช้แบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 50 ซีซี ติดต่อกันกัน 10 วัน แล้วจะเห็นผล (เถา) ส่วนราก ใบ และเถาก็ช่วยรักษาหลอดลมอักเสบเช่นกัน (ราก, ใบ, เถา)

24. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทราย ใช้กินพอประมาณ (น้ำจากเถา)

25. ผลมีรสชุ่มและเย็น ใช้เป็นยารักษาโรคบิดถ่ายเป็นเลือด ช่วยแก้อาการปวดท้องเนื่องจากดื่มเหล้ามาก ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 1 ผล นำไปเผาให้เป็นถ่านแล้วบดเป็นผง ใช้ผสมกับเหล้าดื่มครั้งละประมาณ 6 กรัม หรือจะใช้ใบเป็นยารักษาโรคบิดก็ได้

   โดยให้ใช้ใบในขนาดประมาณ 300-600 มิลลิกรัม เข้าใจว่านำมาต้มกับน้ำดื่ม (ใบ, ผล)

26. ผลช่วยขับลม (ผล)

27. เมล็ดช่วยแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย (เมล็ด) ส่วนผลอ่อนก็เป็นยาระบายเช่นกัน (ผล)

28. รากใช้ในขนาดน้อย ๆ มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง (ราก) น้ำต้มกับรากใช้ดื่มเป็นยาระบาย (ราก)

29. เมล็ดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม โดยนำเมล็ดแก่ (เมล็ดแก่เปลือกดำจะได้ผลดี ส่วนเปลือกขาวจะไม่ได้ผล) นำมาเคี้ยวกินตอนท้องว่าง หรือจะนำเมล็ดมาบดให้ละเอียดใส่ในแคปซูลกินวันละครั้ง แล้วพยาธิตัวกลมก็จะถูกขับออกมา หรือจะใช้เมล็ดประมาณ

   40-50 เมล็ด (ถ้าเป็นเด็กให้ใช้ 30 เม็ด) นำมาตำให้ละเอียด แล้วใช้กินกับน้ำเปล่าตอนท้องว่าง โดยให้กินวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 2 วัน ส่วนเถาก็ใช้เป็นยาขับพยาธิได้เช่นกัน (เถา, เมล็ด)

30. ผลช่วยแก้อาการเลือดออกตามทางเดินอาหารและจากกระเพาะปัสสาวะ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ (ผล)

31. ผลอ่อน ใยบวบ เมล็ด และดอก มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ดอก, ผล, ใยบวบ, เมล็ด) น้ำต้มใบใช้ร่วมกับยาขับปัสสาวะอื่น ๆ หรือน้ำต้มจากใบสดเป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ปัสสาวะเป็นเลือด หากใช้ใบแห้งให้ใช้ขนาด 5 กรัม นำมาชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว

   ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น (ใบ)[4],[6]

32. ช่วยรักษาทางเดินปัสสาวะอักเสบ ด้วยการใช้ใยบวบหรือรังบวบ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำผสมน้ำผึ้งเล็กน้อยกินเป็นยา หรือจะใช้ผลบวบ 1 ผล นำมาผิงไฟให้เหลืองแห้งแล้วบดเป็นผง แบ่งเป็น 2 ส่วน ใช้กินกับเหล้าเหลือง (ผล, ใยบวบ)

33. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร โดยใช้ใบนำมาตำแล้วพอกหรือจะบดเป็นผงผสมเป็นยาทาบริเวณที่เป็น หรือจะใช้ดอกสดผสมกับฮั่วเถ่าเช่าสดนำไปตำใช้เป็นยาพอก หรืออีกวิธีให้ใช้ใยผลนำไปเผาไฟให้เป็นเถ้า นำไปผสมกับปูนขาวที่เก็บไว้นาน ๆ และผสมกับ

   หย่งอึ้งบดเป็นผง แล้วนำไปต้มกับดีหมู ใส่ไข่ขาวผสมน้ำมันหอมใช้ทาบริเวณที่เป็น แต่หากเป็นโรคริดสีดวงทวารที่เกิดจากการดื่มเหล้ามาก ๆ ก็ให้ใช้ใยบวบที่เผาเป็นถ่านแล้วนำมาบดเป็นผงผสมกับเหล้า ใช้ดื่มครั้งละ 6 กรัม (ใบ, ดอก, ใยผล)

34. ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี ด้วยการใช้ผลบวบแห้ง 1 ผล นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล)

35. หากเลือดน้อย ประจำเดือนของสตรีมาผิดปกติ ให้นำผลมาเผาให้เป็นถ่าน ใช้ผสมกับเหล้าดื่มหลังอาหารตอนที่สบายใจ ส่วนเถาก็ช่วยแก้ประจำเดือนที่ผิดปกติของสตรีเช่นกัน (เถา, ผล)[1]หรือจะใช้เมล็ดที่อบแห้งแล้วนำมาบดให้เป็นผง เติมน้ำตาลแดง

   และเหล้าเหลืองเล็กน้อย นำมาอุ่นให้พอร้อน ใช้ดื่มเช้าและเย็นเป็นยาแก้ประจำเดือนผิดปกติ (เมล็ด)[3] ส่วนใยบวบและน้ำคั้นจากใบสดเป็นยาฟอกเลือด ช่วยขับประจำเดือน แก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ (ใบ, ใยบวบ)

36. ใช้แก้ประจำเดือนของสตรีมามากผิดปกติ ให้ใช้ผลบวบแก่ 1 ผล นำมาผิงไฟให้ดำแต่อย่าให้ไหม้ แล้วบดเป็นผงกินกับเกลือครั้งละ 9 กรัม (ผล)

37. ใช้เป็นยารักษาสตรีที่มีอาการตกเลือด ด้วยการนำใบไปคั่วให้เป็นถ่าน บดให้เป็นผง ใช้ผสมกับเหล้าดื่มครั้งละ 6-15 กรัม (ใบ)

38. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ ด้วยการใช้น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทราย ใช้กินพอประมาณ (น้ำจากเถา)

39. ใยบวบใช้เป็นยาช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย ช่วยลดอาการบวม (ใยบวบ)

40. เถาช่วยบำรุงม้าม (เถา)

41. ราก ใบ และเถา ใช้ภายนอกเป็นยาใส่แผลช่วยห้ามเลือดได้ (ราก, ใบ, เถา) หากเป็นแผลมีเลือดออก ให้ใช้ใบตากแห้งนำมาบดเป็นผง แล้วนำมาใช้โรยบริเวณแผล (ใบ) ใบนำมาตำใช้เป็นยาพอกแก้อาการอักเสบและฝี (ใบ)

42. รากมีสรรพคุณช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อยอักเสบ ด้วยการใช้รากนำมาต้มกับน้ำใช้ล้างแผล จะช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น (ราก)

43. ช่วยรักษาผดผื่นคัน ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำ ใช้เป็นยาทาบริเวณที่เป็น หรือจะใช้ใบสดผสมกับเมนทอล นำมาตำใช้เป็นยาพอกหรือทาบริเวณที่เป็น (ใบ)

44. ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ฝีหนอง (ราก, ใบ, เถา) ใบนำมาตำใช้เป็นยาพอกรักษากลาก บาดแผลเรื้อรัง รักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย หรือจะใช้ใบนำมาต้มเอาแต่น้ำใช้ชะล้าง หรือบดเป็นผงผสมเป็นยาทาก็ได้ (ใบ) ใช้รักษาเกลื้อน ให้ใช้ใบ

   สดนำมาล้างให้สะอาด นำมาขยี้แล้วใช้ถูบริเวณที่เป็นจนผิวหนังเริ่มแดงก็หยุดสักพัก แล้วทำใหม่ติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง โดยบริเวณที่ถูไม่ต้องล้างน้ำออกจนกว่าเกลื้อนจะหาย หรือจะเด็ดบวบอ่อนที่มีน้ำค้างเกาะในตอนเช้า นำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ

   มาทาบริเวณที่เป็นก็ได้ (ใบ, ผล)

45. น้ำคั้นจากใบสดใช้เป็นยาทาแก้กลากบนศีรษะ (ใบ)

46. ใช้เปลือกผลนำไปเผาไฟให้แห้ง แล้วบดให้เป็นผงผสมเป็นยาทารักษาฝี ฝีไม่มีหัว แผลมีหนอง และแผลที่เกิดจากการกดทับนาน ๆ หรือใช้ผลสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำใช้เป็นยาทารักษาฝีบวม (ผล, เปลือกผล) หรือหากใช้รักษาฝีบวมแดงและมีหนอง

   รักษาฝีไม่มีหัว ก็ให้ใช้ดอกสดผสมกับฮั่วเถ่าเช่าสด นำไปตำใช้เป็นยาพอกก็ได้ (ดอก)

47. หรือถ้าหากเป็นแผลมีหนองและมีเนื้อนูน ก็ให้ใช้ผลสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับผงเบญกานี Gall จากต้น Rhus chinensis Mill. แล้วนำมาใช้เป็นยาทา (ผล)[1]ส่วนรากนำมาเคี่ยวเอาแต่น้ำใช้ชะล้างแผลมีหนองเรื้อรังและช่วยรักษาฝี (ราก)

48. หากเป็นหูด ให้ใช้ดอกสดประมาณ 2-5 ดอก ใส่เกลือลงไปเล็กน้อยแล้วตำให้ละเอียด ใช้เช็ดถูบริเวณที่เป็นจนเริ่มรู้สึกร้อน แล้วให้ถูบ่อย ๆ จะได้ผลดี โดยให้ใช้จนกากแห้ง เททิ้งแล้วเปลี่ยนใหม่ (ดอก)

49. ราก ใบ และเถาใช้เป็นยาแก้อาการปวดหลัง (ราก, ใบ, เถา)

50. ช่วยแก้อาการปวดเอว ด้วยการใช้ใยบวบ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำเติมเหล้าเหลืองเล็กน้อยใช้กินเป็นยา หรือถ้าจะใช้รักษาอาการปวดเอวเรื้อรัง ก็ให้นำเมล็ดมาคั่วจนเหลือง แล้วบดให้เป็นผง ใช้ผสมกับเหล้าดื่ม แล้วให้นำกากมาพอกบริเวณที่มีอาการปวด

   (ใยบวบ, เมล็ด)

51. ใยบวบมีสรรพคุณแก้อาการปวดเส้น ปวดกระดูก (ใยบวบ)

52. เถาช่วยรักษาแขนขาเป็นเหน็บชา (เถา)

53. ใช้ใยผลหรือรังบวบที่เผาเป็นถ่านแล้วนำมาบดเป็นผง ใช้ผสมกับเหล้าดื่ม แล้วห่มผ้าห่มให้เหงื่อออกด้วย จะช่วยขับน้ำนมของสตรีที่มีน้ำนมน้อยหลังการคลอดบุตรได้ ส่วนผลก็ช่วยขับหรือเรียกน้ำนมได้เช่นกัน ด้วยการใช้ผลแก่ 1 ผลนำมาตากในที่ร่มให้

Visitors: 692,078